คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
🆀 นโยบายกองทุนรวม (2)
สืบเนื่องจากคำถามสัปดาห์ก่อน เกี่ยวกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมว่ามีแบบใดบ้าง
🅰 สัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้พูดถึงนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมบางประเภทต่างๆ ไปแล้วว่านโยบายการลงทุน
ของกองทุนรวมสามารถแบ่งออกเป็นกองทุนรวมทั่วไป และกองทุนรวมพิเศษ ซึ่งกองทุนรวมทั่วไปยังแบ่งตาม
นโยบายการลงทุนได้เป็น กองทุนรวมตราสารแห่งทุน กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ และกองทุนรวมผสม
ส่วนกองทุนรวมพิเศษนั้น ดิฉันก็ได้พูดถึง กองทุนรวมหน่วยลงทุน กองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนรวมมีประกัน
ไปแล้ว วันนี้เรามาดูกองทุนรวมพิเศษอื่นๆ กันต่อ ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กันค่ะ
4. กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (Capital Protected Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการวางแผน การลงทุนโดยการจัดสรรเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งมีโอกาสสร้าง ผลตอบแทนได้มากเพียงพอ ที่จะส่งผลให้เงินต้นหรือเงินลงทุนเริ่มแรกทั้งจำนวนหรือเพียงบางส่วน ตามที่ระบุไว้ได้รับการคุ้มครอง เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ และเงินส่วนน้อยอีกส่วนหนึ่งจะ ถูกนำไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงที่สูง เพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเฉลี่ยกับเงินลงทุน ส่วนใหญ่แล้วมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ดังนั้น กองทุนรวมคุ้มครอง เงินต้นจึงมักจะมีข้อกำหนดในเรื่องระยะเวลาในการถือครองหน่วยลงทุน
5. กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) หมายถึง กองทุนรวม ที่มีการลงทุนกระจุกตัวเน้นหลักทรัพย์บางประเภทมากกว่าเกณฑ์ที่ สำนักงาน ก.ล.ต กำหนด ดังนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. จึงให้กองทุนนี้ต้องมีคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วๆไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบและใช้วิจารณญาณในการเลือกลงทุน
6. กองทุนรวมดัชนี (Index Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายในการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือ หน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการ โดยกองทุนนี้จะมี การกระจาย การลงทุนในหลักทรัพย์ ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณดัชนีราคาหลักทรัพย์ ที่ได้รับ การยอมรับจากสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น SET Index หรือ SET50 Index เป็นต้น
7. กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่ระดมเงินจาก ผู้ลงทุนในประเทศไทย แล้วนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ยังต่างประเทศ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ลงทุนไทย สามารถจะกระจายการลงทุนของตนให้กว้างขวางขึ้น และเป็นการเพิ่มโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทน จากการลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย
8. กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หมายถึง กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น เฉพาะกิจ เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุน เพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุน ของธนาคารพาณิชย์
9. กองทุนรวมวายุภักษ์ หมายถึง กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไป ปฏิรูปแนวทางการลงทุนของกระทรวงการคลัง ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การออมและการลงทุนของประเทศ อีกทั้งเพื่อ เพิ่มทางเลือกสำหรับประชาชนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ และเพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนา ตลาดทุนของประเทศให้มีเสถียรภาพมากขึ้นอีกด้วย
10. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ใน การส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งทางการให้การสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้น โดยผู้ลงทุน ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน ตามเงื่อนไข การลงทุนที่กรมสรรพากรกำหนด
11. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long term Equity Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในหุ้นสามัญ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน ตามเงื่อนไขการลงทุนที่กรมสรรพากรกำหนด
12. กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ หมายถึง กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคล ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
นอกจากนั้นก็ยังมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อันได้แก่ อาคารสำนักงาน อาคารพักอาศัย คลังสินค้า โรงแรม เป็นต้น ซึ่งกองทุนประเภทนี้ บริษัทจัดการจะนำไป จดทะเบียนในตลาดรอง เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ลงทุน
นโยบายการลงทุนที่แตกต่างกันนั้น จะส่งผลต่อระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น ผู้ลงทุนจึง ควรศึกษาและทำความรู้จักกับนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนได้ตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุน รวมที่มีนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุน มีโอกาสสร้างผลตอบแทนตามที่คาดหวัง ในระดับ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตัวผู้ลงทุนเองค่ะ
ไปแล้ว วันนี้เรามาดูกองทุนรวมพิเศษอื่นๆ กันต่อ ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กันค่ะ
4. กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (Capital Protected Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการวางแผน การลงทุนโดยการจัดสรรเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งมีโอกาสสร้าง ผลตอบแทนได้มากเพียงพอ ที่จะส่งผลให้เงินต้นหรือเงินลงทุนเริ่มแรกทั้งจำนวนหรือเพียงบางส่วน ตามที่ระบุไว้ได้รับการคุ้มครอง เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ และเงินส่วนน้อยอีกส่วนหนึ่งจะ ถูกนำไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงที่สูง เพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเฉลี่ยกับเงินลงทุน ส่วนใหญ่แล้วมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ดังนั้น กองทุนรวมคุ้มครอง เงินต้นจึงมักจะมีข้อกำหนดในเรื่องระยะเวลาในการถือครองหน่วยลงทุน
5. กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) หมายถึง กองทุนรวม ที่มีการลงทุนกระจุกตัวเน้นหลักทรัพย์บางประเภทมากกว่าเกณฑ์ที่ สำนักงาน ก.ล.ต กำหนด ดังนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. จึงให้กองทุนนี้ต้องมีคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วๆไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบและใช้วิจารณญาณในการเลือกลงทุน
6. กองทุนรวมดัชนี (Index Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายในการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือ หน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในโครงการ โดยกองทุนนี้จะมี การกระจาย การลงทุนในหลักทรัพย์ ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณดัชนีราคาหลักทรัพย์ ที่ได้รับ การยอมรับจากสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น SET Index หรือ SET50 Index เป็นต้น
7. กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่ระดมเงินจาก ผู้ลงทุนในประเทศไทย แล้วนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ยังต่างประเทศ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ลงทุนไทย สามารถจะกระจายการลงทุนของตนให้กว้างขวางขึ้น และเป็นการเพิ่มโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทน จากการลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย
8. กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หมายถึง กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น เฉพาะกิจ เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุน เพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุน ของธนาคารพาณิชย์
9. กองทุนรวมวายุภักษ์ หมายถึง กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไป ปฏิรูปแนวทางการลงทุนของกระทรวงการคลัง ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การออมและการลงทุนของประเทศ อีกทั้งเพื่อ เพิ่มทางเลือกสำหรับประชาชนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ และเพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนา ตลาดทุนของประเทศให้มีเสถียรภาพมากขึ้นอีกด้วย
10. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ใน การส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งทางการให้การสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้น โดยผู้ลงทุน ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน ตามเงื่อนไข การลงทุนที่กรมสรรพากรกำหนด
11. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long term Equity Fund) หมายถึง กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในหุ้นสามัญ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน ตามเงื่อนไขการลงทุนที่กรมสรรพากรกำหนด
12. กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ หมายถึง กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคล ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
นอกจากนั้นก็ยังมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อันได้แก่ อาคารสำนักงาน อาคารพักอาศัย คลังสินค้า โรงแรม เป็นต้น ซึ่งกองทุนประเภทนี้ บริษัทจัดการจะนำไป จดทะเบียนในตลาดรอง เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ลงทุน
นโยบายการลงทุนที่แตกต่างกันนั้น จะส่งผลต่อระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น ผู้ลงทุนจึง ควรศึกษาและทำความรู้จักกับนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนได้ตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุน รวมที่มีนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุน มีโอกาสสร้างผลตอบแทนตามที่คาดหวัง ในระดับ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตัวผู้ลงทุนเองค่ะ