คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
🆀 ตอนที่ 2 ค่าใช้จ่าย
ต่อเนื่องจากคำถามสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบัตรเครดิต ข้อสงสัยในวัตถุประสงค์ของการใช้บัตรเครดิต รายละเอียด ค่าใช้จ่าย และขอคำแนะนำในการใช้บัตรเครดิต
🅰 ครั้งที่แล้ว ดิฉันได้กล่าวไปในส่วนของวัตถุประสงค์ของการใช้บัตรเครดิต และรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิด
จากการใช้บัตรเครดิตไปแล้ว อันได้แก่ ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการอื่น อัตราการผ่อนชำระคืนขั้นต่ำ ค่าธรรมเนียมในการเบิกถอนเงินสด และระยะเวลาการชำระคืนโดยปลอดดอกเบี้ย วันนี้มาพิจารณาเกี่ยวกับ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานของผู้ประกอบ ธุรกิจบัตรเครดิต ที่คิดกับผู้ถือบัตรเครดิตกันบ้าง ดังต่อไปนี้ค่ะ
ค่าธรรมเนียมในการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่คิดกับผู้ถือบัตรเครดิต
ค่าธรรมเนียมในการถือบัตรเครดิต
โดยจะมีทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทและชนิดของบัตร ของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตแต่ละ แห่ง ค่าใช้ในจ่ายส่วนนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องจ่ายให้ผู้ประกอบธุรกิจ บัตรเครดิตตามเงื่อนไข แม้จะไม่ได้ใช้บริการจากบัตรเครดิตที่ถืออยู่เลยก็ตาม ดังนั้น หากผู้ใช้บัตรเครดิต เลือกถือบัตรเครดิตที่ผู้ประกอบการไม่คิดค่าธรรมเนียม หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ ก็จะทำให้ลดค่าใช้จ่าย ไปได้ส่วนหนึ่ง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจจะพิจารณาเลือกบัตรเครดิต ด้วยการเปรียบเทียบด้านบริการ ความสะดวกสบาย และส่วนลดจากร้านค้าซึ่งเราซื้อสินค้าหรือใช้บริการอยู่เป็นประจำ ที่จะได้รับจาก บัตรเครดิตนั้น ตลอดจนบริการเสริมต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมในการชำระเงิน
มีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งนี้ หากเป็นการชำระโดยหักบัญชีธนาคารหรือเคาน์เตอร์ธนาคารหรือชำระผ่านเครื่อง เอทีเอ็มของธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต ส่วนใหญ่จะไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียม มีบางธนาคารเท่านั้นที่คิดค่าบริการ ประมาณ 15-25 บาท แต่ถ้าเป็นการชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารหรือชำระผ่านเครื่องเอทีเอ็มที่ไม่ใช่ ของธนาคาร ผู้ออกบัตรเครดิต จะถูกคิดค่าธรรมเนียมตั้งแต่ประมาณ 10-50 บาท ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดก็จะบวกเพิ่มเข้าไปอีก ประมาณ 10-20 บาท ส่วนการชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ให้บริการ เช่นร้านเซเว่น อีเลฟเว่น หรือ ห้างสรรพสินค้า จะมีค่าธรรมเนียมเท่ากันหมดทุกแห่ง(กรุงเทพฯและปริมณฑล) คือประมาณ 15 บาท ทั้งนี้ต้อง ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น และรับชำระเป็นจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท แต่ถ้าเป็นเคาน์เตอร์เซอร์วิสในต่างจังหวัด จะบวกเพิ่มเข้าไปอีกประมาณ 5-10 บาท และสำหรับการชำระทางไปรษณีย์จะถูกคิดค่าธรรมเนียมประมาณ 10-15 บาท เหล่านี้เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการอื่นๆ อันได้แก่
ค่าปรับกรณีเช็คคืน ค่าธรรมเนียมในการออกบัตรใหม่กรณีหายหรือชำรุด ค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบ รายการ ซึ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 200 บาท/ครั้ง แต่ถ้าเป็นค่าธรรมเนียมในการขอใบแจ้งยอด บัญชี ค่าธรรมเนียมในการขอสำเนาใบบันทึกการขาย ค่าธรรมเนียมในการขอรหัสประจำตัวบัตรเครดิตใหม่ ทดแทนรหัสเดิม เหล่านี้ก็จะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 100 บาท/ครั้ง และสุดท้ายค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บหนี้ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตจะเรียกเก็บตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการที่เราจะถือบัตรเครดิตเอาไว้สักใบนั้น มีค่าใช้จ่ายต่างๆ เกิดขึ้นตามมามากมาย แต่จะสังเกตได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ได้กล่าวถึงไปนั้น มีอยู่เพียงไม่กี่รายการเท่านั้นที่เราต้องจ่ายให้กับผู้ประกอบธุรกิจ บัตรเครดิตเพื่อแลกกับความสะดวกสบายที่จะได้รับ แต่อีกหลายรายการที่เหลือ ผู้ถือบัตรเครดิตสามารถหลีกเลี่ยง หรือลดค่าใช้จ่ายได้ ด้วยการบริหารการใช้บัตรเครดิตอย่างง่ายๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตในชีวิตประจำวันตามความต้องการ ให้เป็นปกติเหมือนกับการใช้จ่ายด้วยเงินสด ไม่ควรใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปกติ เพียงเพราะว่ามีบัตรเครดิตแล้วจะนำไปใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ ซึ่งใน ความเป็นจริงแล้วการใช้บัตรเครดิตในแต่ละครั้ง หมายถึงการก่อหนี้ภาระผูกพันที่เราจะต้องชำระคืน ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจบัตร เครดิต หากไม่สามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนตรงตามกำหนดเวลาได้ การซื้อสินค้าและบริการในครั้งนั้นก็จะแพงกว่าปกติทั่วๆไปในทันที จากค่าปรับและดอกเบี้ยที่ทวีคูณขึ้น นั่นเอง
2. พยายามชำระหนี้เต็มตามใบแจ้งยอด อย่าให้มียอดค้างชำระ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ถือบัตรเครดิต ถูกคิดจากยอดค้างชำระ (หลังจากครบกำหนดชำระแล้ว) อยู่ในอัตราที่สูง นั่นคือ ประมาณ 17 - 18 % ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับเงินกู้ประเภทอื่นๆ ที่สถาบันการเงินคิดกับผู้กู้
3. หลีกเลี่ยงการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉิน หรือ CASH ADVANCE โดยทั่วไปบัตรเครดิตจะมีวงเงินให้เบิก เงินสดฉุกเฉินได้ 50-100 % ของวงเงินบัตรหรือยอดคงเหลือขณะนั้น ในการเบิกถอนเงินสดแต่ละครั้ง ผู้ถือบัตรเครดิตต้องแน่ใจว่าฉุกเฉินจริง ๆ เนื่องจากผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 3% ของยอดเงินที่เบิกทันที และมีภาระดอกเบี้ยจากยอดดังกล่าวนั้นตั้งแต่วันที่เบิกอีกด้วย
4. การชำระหนี้ไม่ตรงกำหนด ไม่เพียงแต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่านั้น ยังต้องมาเสียค่าปรับอีก ซึ่งผู้ประกอบ ธุรกิจบางรายจะกำหนดไว้แน่นอนประมาณ 100 - 200 บาทต่อครั้ง แต่ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตบางราย อาจกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดที่ต้อง ชำระคืนตามใบแจ้งยอด ซึ่งหากเดือนใดผู้ถือบัตรหลงลืมชำระ ไม่ตรงกำหนด อาจจะต้องถูกปรับเป็นหลักพันบาททีเดียว
สุดท้ายพึงระลึกไว้เสมอว่า บัตรเครดิต เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกแทนเงินสดในการจับจ่าย ซื้อสินค้า และบริการเท่านั้น ถ้านำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มอำนาจซื้อ ผู้ถือบัตรก็อย่าลืมภาระค่าใช้จ่าย ที่จะตามมาอย่างมโหฬาร ดังกล่าวแล้วข้างต้นค่ะ
ค่าธรรมเนียมในการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่คิดกับผู้ถือบัตรเครดิต
ค่าธรรมเนียมในการถือบัตรเครดิต
โดยจะมีทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทและชนิดของบัตร ของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตแต่ละ แห่ง ค่าใช้ในจ่ายส่วนนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องจ่ายให้ผู้ประกอบธุรกิจ บัตรเครดิตตามเงื่อนไข แม้จะไม่ได้ใช้บริการจากบัตรเครดิตที่ถืออยู่เลยก็ตาม ดังนั้น หากผู้ใช้บัตรเครดิต เลือกถือบัตรเครดิตที่ผู้ประกอบการไม่คิดค่าธรรมเนียม หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ ก็จะทำให้ลดค่าใช้จ่าย ไปได้ส่วนหนึ่ง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจจะพิจารณาเลือกบัตรเครดิต ด้วยการเปรียบเทียบด้านบริการ ความสะดวกสบาย และส่วนลดจากร้านค้าซึ่งเราซื้อสินค้าหรือใช้บริการอยู่เป็นประจำ ที่จะได้รับจาก บัตรเครดิตนั้น ตลอดจนบริการเสริมต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมในการชำระเงิน
มีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งนี้ หากเป็นการชำระโดยหักบัญชีธนาคารหรือเคาน์เตอร์ธนาคารหรือชำระผ่านเครื่อง เอทีเอ็มของธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต ส่วนใหญ่จะไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียม มีบางธนาคารเท่านั้นที่คิดค่าบริการ ประมาณ 15-25 บาท แต่ถ้าเป็นการชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารหรือชำระผ่านเครื่องเอทีเอ็มที่ไม่ใช่ ของธนาคาร ผู้ออกบัตรเครดิต จะถูกคิดค่าธรรมเนียมตั้งแต่ประมาณ 10-50 บาท ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดก็จะบวกเพิ่มเข้าไปอีก ประมาณ 10-20 บาท ส่วนการชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ให้บริการ เช่นร้านเซเว่น อีเลฟเว่น หรือ ห้างสรรพสินค้า จะมีค่าธรรมเนียมเท่ากันหมดทุกแห่ง(กรุงเทพฯและปริมณฑล) คือประมาณ 15 บาท ทั้งนี้ต้อง ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น และรับชำระเป็นจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท แต่ถ้าเป็นเคาน์เตอร์เซอร์วิสในต่างจังหวัด จะบวกเพิ่มเข้าไปอีกประมาณ 5-10 บาท และสำหรับการชำระทางไปรษณีย์จะถูกคิดค่าธรรมเนียมประมาณ 10-15 บาท เหล่านี้เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการอื่นๆ อันได้แก่
ค่าปรับกรณีเช็คคืน ค่าธรรมเนียมในการออกบัตรใหม่กรณีหายหรือชำรุด ค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบ รายการ ซึ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 200 บาท/ครั้ง แต่ถ้าเป็นค่าธรรมเนียมในการขอใบแจ้งยอด บัญชี ค่าธรรมเนียมในการขอสำเนาใบบันทึกการขาย ค่าธรรมเนียมในการขอรหัสประจำตัวบัตรเครดิตใหม่ ทดแทนรหัสเดิม เหล่านี้ก็จะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 100 บาท/ครั้ง และสุดท้ายค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บหนี้ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตจะเรียกเก็บตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการที่เราจะถือบัตรเครดิตเอาไว้สักใบนั้น มีค่าใช้จ่ายต่างๆ เกิดขึ้นตามมามากมาย แต่จะสังเกตได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ได้กล่าวถึงไปนั้น มีอยู่เพียงไม่กี่รายการเท่านั้นที่เราต้องจ่ายให้กับผู้ประกอบธุรกิจ บัตรเครดิตเพื่อแลกกับความสะดวกสบายที่จะได้รับ แต่อีกหลายรายการที่เหลือ ผู้ถือบัตรเครดิตสามารถหลีกเลี่ยง หรือลดค่าใช้จ่ายได้ ด้วยการบริหารการใช้บัตรเครดิตอย่างง่ายๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตในชีวิตประจำวันตามความต้องการ ให้เป็นปกติเหมือนกับการใช้จ่ายด้วยเงินสด ไม่ควรใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปกติ เพียงเพราะว่ามีบัตรเครดิตแล้วจะนำไปใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ ซึ่งใน ความเป็นจริงแล้วการใช้บัตรเครดิตในแต่ละครั้ง หมายถึงการก่อหนี้ภาระผูกพันที่เราจะต้องชำระคืน ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจบัตร เครดิต หากไม่สามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนตรงตามกำหนดเวลาได้ การซื้อสินค้าและบริการในครั้งนั้นก็จะแพงกว่าปกติทั่วๆไปในทันที จากค่าปรับและดอกเบี้ยที่ทวีคูณขึ้น นั่นเอง
2. พยายามชำระหนี้เต็มตามใบแจ้งยอด อย่าให้มียอดค้างชำระ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ถือบัตรเครดิต ถูกคิดจากยอดค้างชำระ (หลังจากครบกำหนดชำระแล้ว) อยู่ในอัตราที่สูง นั่นคือ ประมาณ 17 - 18 % ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับเงินกู้ประเภทอื่นๆ ที่สถาบันการเงินคิดกับผู้กู้
3. หลีกเลี่ยงการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉิน หรือ CASH ADVANCE โดยทั่วไปบัตรเครดิตจะมีวงเงินให้เบิก เงินสดฉุกเฉินได้ 50-100 % ของวงเงินบัตรหรือยอดคงเหลือขณะนั้น ในการเบิกถอนเงินสดแต่ละครั้ง ผู้ถือบัตรเครดิตต้องแน่ใจว่าฉุกเฉินจริง ๆ เนื่องจากผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 3% ของยอดเงินที่เบิกทันที และมีภาระดอกเบี้ยจากยอดดังกล่าวนั้นตั้งแต่วันที่เบิกอีกด้วย
4. การชำระหนี้ไม่ตรงกำหนด ไม่เพียงแต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่านั้น ยังต้องมาเสียค่าปรับอีก ซึ่งผู้ประกอบ ธุรกิจบางรายจะกำหนดไว้แน่นอนประมาณ 100 - 200 บาทต่อครั้ง แต่ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตบางราย อาจกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดที่ต้อง ชำระคืนตามใบแจ้งยอด ซึ่งหากเดือนใดผู้ถือบัตรหลงลืมชำระ ไม่ตรงกำหนด อาจจะต้องถูกปรับเป็นหลักพันบาททีเดียว
สุดท้ายพึงระลึกไว้เสมอว่า บัตรเครดิต เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกแทนเงินสดในการจับจ่าย ซื้อสินค้า และบริการเท่านั้น ถ้านำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มอำนาจซื้อ ผู้ถือบัตรก็อย่าลืมภาระค่าใช้จ่าย ที่จะตามมาอย่างมโหฬาร ดังกล่าวแล้วข้างต้นค่ะ