about-icon-6

คำถามที่พบบ่อย

qa-icon

คำถามที่พบบ่อย

🆀 ตอนที่ 1 การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล


การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คืออะไร มีวิธีและขั้นตอนในการดำเนินการ อย่างไร
🅰 การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือ การบริหารจัดการเงินหรือรายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุด และนับเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายทางการเงินได้

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล ประกอบด้วย :

1. การวางแผนการลงทุนในหลักทรัพย์
2. การวางแผนภาษี
3. การวางแผนการประกันชีวิต
4. การวางแผนการเกษียณอายุ

การวางแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ ก่อนที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ ผู้ลงทุนจะต้องสำรวจตัวเองในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ :

1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน กล่าวคือ ผู้ลงทุนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะและ แนวโน้มการลงทุนในตลาดการเงิน ต้องมีความรู้ความเข้าใจการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่จะลงทุน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง กองทุนรวม เป็นต้น ตลอดจนเข้าใจและทราบถึงความเสี่ยงจาก การลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารนั้นๆ ด้วย แล้วจากนั้นจึงประเมินตัวเองดูว่าสามารถยอมรับระดับ ความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าหากผู้ลงทุนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ก็ต้องไปศึกษา ค้นคว้าจนเข้าใจเสียก่อน โดยผู้ลงทุนสามารถไปศึกษาค้นคว้าได้จากหลายๆ ช่องทาง เช่น หนังสือเกี่ยวกับการเงินการลงทุน อินเทอร์เน็ต เช่น จากเว็บไซต์ www.set.or.th, www.settrade.com, www.bex.or.th, www.thaibond.com, www.thaimutualfund.com หรือ จะไปสอบถามจากผู้รู้ท่านอื่นๆ ก็ได้

2. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในการลงทุน กล่าวคือ ผู้ลงทุนคาดหวังผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน ในลักษณะใด ดังต่อไปนี้คือ :-

2.1 ต้องการทำกำไรจากการลงทุน ผู้ลงทุนที่ต้องการผลลัพธ์จากการลงทุนในรูปแบบนี้ คือ ผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยง หรือผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาในการลงทุนได้ หลักทรัพย์หรือตราสารที่จะเลือกลงทุน เช่น หุ้นของกิจการที่เริ่มก่อตั้ง หรือหุ้นของกิจการ ที่กำลังขยายตัว และมีกำไร แต่ไม่จ่ายปันผล เป็นต้น

2.2 ต้องการมีรายได้ประจำจากการลงทุน ผู้ลงทุนที่ต้องการผลลัพธ์จากการลงทุนในรูปแบบนี้ คือ ผู้ลงทุนที่ต้องการกระแสเงินสดรับอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีพ หลักทรัพย์หรือ ตราสารที่จะเลือกลงทุนก็ต้องมีการระบุการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผลแน่นอน เช่น พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น ส่วนระดับของความเสี่ยงก็ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์หรือตราสารที่เลือกลงทุน ซึ่งอาจมีได้ตั้งแต่ ระดับต่ำจนถึงระดับสูง

2.3 ต้องการให้เงินลงทุนมั่นคง ไม่ลดลง ผู้ลงทุนที่ต้องการผลลัพธ์จากการลงทุนในรูปแบบนี้ คือ สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ ดังนั้น หลักทรัพย์หรือตราสารที่เลือกลงทุนก็ต้องมี ความเสี่ยงต่ำด้วย เช่น ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น

2.4 ต้องการผลตอบแทนรวม ผู้ลงทุนที่ต้องการผลลัพธ์จากการลงทุนในรูปแบบนี้ คือ สามารถรับ ความเสี่ยงได้ในระดับกลางๆ ดังนั้น การลงทุนสามารถกระจายหรือผสมผสานกันได้ระหว่าง หลักทรัพย์หรือตราสารทั้งสามรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น

3. ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขการลงทุน เช่น ผู้ลงทุนต้องการสภาพคล่องในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน สามารถลงทุนได้ในระยะสั้นๆ หรือระยะยาว เหล่านี้เป็นต้น

หลังจากนั้นจึงดำเนินการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์และตราสารต่างๆ ในแต่ละประเภทตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายในการลงทุน ตลอดจนระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได ้ตามที่ได้สำรวจมาแล้วอย่างรอบคอบ ก่อนหน้านี้ค่ะ