คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
🆀 กองทุนรวม FIF คืออะไร เหมาะกับใคร?
อยากทราบว่ากองทุนรวม FIF คืออะไร เหมาะกับใครบ้าง
🅰 กองทุนรวม FIF (Foreign Investment Fund) คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ เป็นกองทุนรวม
ประเภทเดียวที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทยให้สามารถระดมเงินจากผู้ลงทุน
ในประเทศไทย และนำเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้ เพื่อเป็นการกระจายการลงทุน และเพิ่มโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศ กล่าวคือ
ในต่างประเทศทั่วโลกนั้นมีตราสาร และหลักทรัพย์ต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่หลากหลาย โดยกองทุนรวม FIF
สามารถที่จะเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากประเทศ หนึ่งไปยังอีกประเทศที่มีภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนที่มองว่ามี
แนวโน้มที่ดีกว่าได้
เนื่องจากกองทุนรวม FIF จะต้องนำเงินที่ระดมได้ไปลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้นผู้จัดการกองทุนจะมีงานที่เพิ่มขึ้น คือ การค้นหาและวิเคราะห์ ข้อมูล เพื่อตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์หรือตราสารที่มีอยู่ในตลาดของประเทศต่างๆ ซึ่งถือเป็นงานที่ยากและท้าทายความสามารถของผู้จัดการกองทุนมากพอสมควร หากบริษัทจัดการกองทุนไม่มี เครือข่ายหรือพันธมิตร ในต่างประเทศ ที่จะส่งข้อมูลบทวิเคราะห์ให้กับผู้จัดการกองทุน ด้วยเหตุนี้เอง แทนที่ กองทุน FIF จะเลือกหลักทรัพย์เพื่อลงทุนเอง บางกองทุนอาจจะเลือกวิธีลงทุนในกองทุนรวมในต่างประเทศที่มี ความชำนาญและมีการลงทุนในตราสารที่ตรงกับนโยบายของกองทุน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาให้กับผู้จัดการ กองทุนได้มาก และเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วย
มองในแง่ของโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนกันแล้ว ก็อย่าลืมพิจารณาอีกด้านหนึ่งควบคู่กันไป คือ ความเสี่ยงจาก การลงทุน อย่างแรกก็ต้องเป็นความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การซื้อ หลักทรัพย์หรือตราสารของประเทศใดต้องใช้เงินตราของประเทศนั้นๆ ซึ่งภาวะผันผวนของค่าเงินระหว่างเงิน สองสกุล ทำให้การลงทุนในกองทุนนี้ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงคล้ายกับธุรกิจการนำเข้าและส่งสินค้าออก เมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างกัน นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ภายในประเทศที่เลือกลงทุน อาทิเช่น ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ ดังนั้นหากกองทุนรวม FIF กองใดเจาะจง ลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงประเทศเดียว สถานการณ์ ในประเทศนั้นๆ จะมีผลโดยตรงต่อกองทุนได้ แต่ถ้ากระจายการลงทุนไว้ในหลายประเทศ ความเสี่ยงของกองทุนก็จะกระจายออกไป ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของ การลงทุน ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ที่หลากหลาย
กองทุนรวม FIF นี้ น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนที่ชื่นชอบในการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ หรือต้องการ จะกระจายการลงทุนไปในประเทศอื่นๆ ที่มีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนแตกต่างจากการลงทุนในประเทศ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง แต่ในท้ายที่สุดแล้วผู้ลงทุนที่สนใจจะลงทุนใน กองทุนรวม FIF ก็ต้องศึกษาหนังสือชี้ชวนให้ละเอียด เพราะแต่ละกองทุนต่างก็มีเงื่อนไขและนโยบายต่างกัน ภายใต้ข้อจำกัดการลงทุนในต่างประเทศของแต่ละบริษัทจัดการ ทำให้กองทุนรวม FIF มีความเสี่ยงแตกต่างกัน เหมาะกับนักลงทุนที่มีบุคลิกและความต้องการที่ต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ลงทุนต้องพึงระลึกเอาไว้เสมอว่า แม้การลงทุนในกองทุนรวม FIF จะทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ความเสี่ยงก็มีเพิ่มขึ้นด้วย เหมือนกัน
กองทุนรวม FIF ณ ปัจจุบัน มีอยู่ 5 กองทุน (เฉพาะกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ 100%) บริหารโดย 5 บริษัทจัดการดังต่อไปนี้
1. กองทุนเปิด โกลบอล บาลานซ์ ฟันด์ ออฟ ฟันด์ บริหารจัดการโดย บลจ. วรรณ จำกัด
2. กองทุนเปิด รวงข้าวโกลบัล บาลานซ์ บริหารจัดการโดย บลจ. กสิกรไทย จำกัด
3. กองทุนเปิด เอเจเอฟ โกลบอล คอนเวอร์ติเบิล บอนด์ บริหารจัดการโดย บลจ. อยุธยาเจเอฟ จำกัด
4. กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ บริหารจัดการโดย บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
5. กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ตราสารหนี้เอเชีย บริหารจัดการโดย บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด
ในอนาคตอันใกล้นี้ ทางการอาจเห็นชอบให้กองทุนรวมอื่นๆ ได้โอกาสที่จะจัดสรรเงินลงทุนบางส่วนของกองทุน ไปลงทุนในต่างประเทศได้ เพื่อให้ผู้ลงทุนไทยมีทางเลือกที่จะกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้อีกทางหนึ่ง
เนื่องจากกองทุนรวม FIF จะต้องนำเงินที่ระดมได้ไปลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้นผู้จัดการกองทุนจะมีงานที่เพิ่มขึ้น คือ การค้นหาและวิเคราะห์ ข้อมูล เพื่อตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์หรือตราสารที่มีอยู่ในตลาดของประเทศต่างๆ ซึ่งถือเป็นงานที่ยากและท้าทายความสามารถของผู้จัดการกองทุนมากพอสมควร หากบริษัทจัดการกองทุนไม่มี เครือข่ายหรือพันธมิตร ในต่างประเทศ ที่จะส่งข้อมูลบทวิเคราะห์ให้กับผู้จัดการกองทุน ด้วยเหตุนี้เอง แทนที่ กองทุน FIF จะเลือกหลักทรัพย์เพื่อลงทุนเอง บางกองทุนอาจจะเลือกวิธีลงทุนในกองทุนรวมในต่างประเทศที่มี ความชำนาญและมีการลงทุนในตราสารที่ตรงกับนโยบายของกองทุน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาให้กับผู้จัดการ กองทุนได้มาก และเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วย
มองในแง่ของโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนกันแล้ว ก็อย่าลืมพิจารณาอีกด้านหนึ่งควบคู่กันไป คือ ความเสี่ยงจาก การลงทุน อย่างแรกก็ต้องเป็นความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การซื้อ หลักทรัพย์หรือตราสารของประเทศใดต้องใช้เงินตราของประเทศนั้นๆ ซึ่งภาวะผันผวนของค่าเงินระหว่างเงิน สองสกุล ทำให้การลงทุนในกองทุนนี้ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงคล้ายกับธุรกิจการนำเข้าและส่งสินค้าออก เมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างกัน นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ภายในประเทศที่เลือกลงทุน อาทิเช่น ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ ดังนั้นหากกองทุนรวม FIF กองใดเจาะจง ลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงประเทศเดียว สถานการณ์ ในประเทศนั้นๆ จะมีผลโดยตรงต่อกองทุนได้ แต่ถ้ากระจายการลงทุนไว้ในหลายประเทศ ความเสี่ยงของกองทุนก็จะกระจายออกไป ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของ การลงทุน ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ที่หลากหลาย
กองทุนรวม FIF นี้ น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนที่ชื่นชอบในการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ หรือต้องการ จะกระจายการลงทุนไปในประเทศอื่นๆ ที่มีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนแตกต่างจากการลงทุนในประเทศ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง แต่ในท้ายที่สุดแล้วผู้ลงทุนที่สนใจจะลงทุนใน กองทุนรวม FIF ก็ต้องศึกษาหนังสือชี้ชวนให้ละเอียด เพราะแต่ละกองทุนต่างก็มีเงื่อนไขและนโยบายต่างกัน ภายใต้ข้อจำกัดการลงทุนในต่างประเทศของแต่ละบริษัทจัดการ ทำให้กองทุนรวม FIF มีความเสี่ยงแตกต่างกัน เหมาะกับนักลงทุนที่มีบุคลิกและความต้องการที่ต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ลงทุนต้องพึงระลึกเอาไว้เสมอว่า แม้การลงทุนในกองทุนรวม FIF จะทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ความเสี่ยงก็มีเพิ่มขึ้นด้วย เหมือนกัน
กองทุนรวม FIF ณ ปัจจุบัน มีอยู่ 5 กองทุน (เฉพาะกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ 100%) บริหารโดย 5 บริษัทจัดการดังต่อไปนี้
1. กองทุนเปิด โกลบอล บาลานซ์ ฟันด์ ออฟ ฟันด์ บริหารจัดการโดย บลจ. วรรณ จำกัด
2. กองทุนเปิด รวงข้าวโกลบัล บาลานซ์ บริหารจัดการโดย บลจ. กสิกรไทย จำกัด
3. กองทุนเปิด เอเจเอฟ โกลบอล คอนเวอร์ติเบิล บอนด์ บริหารจัดการโดย บลจ. อยุธยาเจเอฟ จำกัด
4. กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ บริหารจัดการโดย บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
5. กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ตราสารหนี้เอเชีย บริหารจัดการโดย บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด
ในอนาคตอันใกล้นี้ ทางการอาจเห็นชอบให้กองทุนรวมอื่นๆ ได้โอกาสที่จะจัดสรรเงินลงทุนบางส่วนของกองทุน ไปลงทุนในต่างประเทศได้ เพื่อให้ผู้ลงทุนไทยมีทางเลือกที่จะกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้อีกทางหนึ่ง