คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
🆀 TAX ภาษีกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอะไรบ้าง
🅰 สืบเนื่องจากคำถามฉบับที่แล้ว ผู้ลงทุนได้ถามถึงความสำคัญของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วันนี้จะขอนำข้อกังขา
ในเรื่องของ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับมาขยายความเพื่อให้ได้รับ
ความเข้าใจที่ต่อเนื่องกันค่ะ
ก่อนอื่นก็ต้องขอทบทวนอีกครั้งว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” เป็นการออมผ่านการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะ การออมแบบผูกพันระยะยาว (Contractual Savings) ที่ผู้ออมสมัครใจออมขณะที่อยู่ในวัยทำงานและมีกำลังออม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออมเงินไว้ใช้หลังจากเกษียณอายุไปแล้ว โดยไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน สังคม หรือ รัฐบาล เป็นการเก็บออมเงินในปัจจุบันเพื่อนำไปไว้ใช้เลี้ยงชีวิตตัวเองในอนาคต
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งและจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มีดังต่อไปนี้ คือ
1. สิทธิประโยชน์ขณะดำรงสมาชิกภาพ :
สำหรับเงินที่สมาชิกจ่ายสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำไปลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ประจำปี ได้เท่ากับ จำนวนเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ไม่เกิน 300,000 บาท โดย
» ให้นำเงินจำนวนที่จ่ายไม่เกิน 10,000 บาท ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี
» ให้นำเงินจำนวนที่จ่ายเกินกว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 290,000 บาท ไปใช้ยกเว้นภาษีเงินได้ประจำปี
2. สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ :
ในส่วนของเงินสะสมซึ่งจ่ายโดยลูกจ้างนั้นได้รับการยกเว้นภาษี แต่สำหรับผลประโยชน์ที่เกิดจาก เงินสะสม เงินสมทบ(ซึ่งจ่ายโดยนายจ้าง) และผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ จะมีภาระภาษีหรือไม่นั้นเป็นไปตาม เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ได้รับยกเว้นภาษี เมื่อสมาชิกหรือลูกจ้าง
1.1 เกษียณอายุ ตามอายุที่ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัทนายจ้างแต่ต้องไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี
1.2 ทุพพลภาพ ไม่ว่าสาเหตุแห่งการทุพพลภาพจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องมีแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ตรวจ และแสดงความเห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้
1.3 ตาย ไม่ว่าสาเหตุแห่งการตายจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ก็ตาม
ลูกจ้างควรขอหลักฐานรับรองสาเหตุการออกจากงานจากนายจ้างว่า ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานเอกสารแนบในการยกเว้นภาษีเงินได้ ส่วนกรณีเกษียณอายุก่อน กำหนด (early retirement) ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขนี้นะค่ะ
2. เสียภาษีบางส่วน
ลูกหากลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่สิ้นสมาชิกภาพก่อนเกษียณอายุ ให้คำนวณเงินได้ที่จะต้องนำ ไปคำนวณภาษีตามสูตร ดังต่อไปนี้
(เงินสมทบ + ผลประโยชน์ของเงินสะสม + ผลประโยชน์ของเงินสมทบ )– (7,000 x ปีที่ทำงานกับนายจ้าง รายปัจจุบัน) = A แล้วให้นำจำนวนเงินได้ที่คำนวณได้(A) ดังกล่าวไปหักค่าใช้จ่ายได้อีก 50% หลังจากนั้นก็นำเอาไปรวมกับรายได้อื่นๆ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ในปีภาษีที่ได้รับเงินนั้นตามฐานภาษีนั้นๆ ต่อไป
3. เสียภาษีบางส่วน
หากไม่เข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งจากข้างต้นก็ต้องนำเงินทั้งสามส่วน (เงินสมทบ ผลประโยชน์ของ เงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบ )ที่ได้รับทั้งหมดมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ใน ปีภาษีที่ได้รับเงินนั้นตามฐานภาษีเงินได้ต่อไป
อย่างไรก็ดีสำหรับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนงาน สามารถจะรักษาสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีเอาไว้ได้ด้วยการขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมก่อน ซึ่งสามารถดำรงเงินไว้ในกองทุนเดิมได้ไม่เกิน 1 ปี โดยมีค่าธรรมเนียม 500 บาท และเมื่อได้งานใหม่แล้วจึงค่อยแจ้งโอนย้ายเงินจากกองทุนเดิมไปยังกองทุนใหม่ ก็จะทำให้ความเป็นสมาชิกภาพในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรายังคงอยู่ต่อไป โดยไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่และ ไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วยค่ะ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือได้ว่า เป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่นายจ้างมอบให้กับลูกจ้างในขณะที่ทำงานอยู่ เมื่อถึง เวลาที่ลูกจ้างเกษียณอายุ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างช่วยกันสะสมและสมทบไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ ก็จะตกเป็นของลูกจ้างเพื่อไว้ใช้ดูแลตนเองต่อไปในยามแก่เฒ่า เป็นน้ำใจจากนายจ้าง สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ขอชื่นชม และขอเป็นตัวแทนลูกจ้างขอบคุณนายจ้างทุกรายที่สมัครใจจัดตั้ง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ค่ะ
ก่อนอื่นก็ต้องขอทบทวนอีกครั้งว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” เป็นการออมผ่านการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะ การออมแบบผูกพันระยะยาว (Contractual Savings) ที่ผู้ออมสมัครใจออมขณะที่อยู่ในวัยทำงานและมีกำลังออม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออมเงินไว้ใช้หลังจากเกษียณอายุไปแล้ว โดยไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน สังคม หรือ รัฐบาล เป็นการเก็บออมเงินในปัจจุบันเพื่อนำไปไว้ใช้เลี้ยงชีวิตตัวเองในอนาคต
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งและจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มีดังต่อไปนี้ คือ
1. สิทธิประโยชน์ขณะดำรงสมาชิกภาพ :
สำหรับเงินที่สมาชิกจ่ายสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำไปลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ประจำปี ได้เท่ากับ จำนวนเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ไม่เกิน 300,000 บาท โดย
» ให้นำเงินจำนวนที่จ่ายไม่เกิน 10,000 บาท ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี
» ให้นำเงินจำนวนที่จ่ายเกินกว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 290,000 บาท ไปใช้ยกเว้นภาษีเงินได้ประจำปี
2. สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ :
ในส่วนของเงินสะสมซึ่งจ่ายโดยลูกจ้างนั้นได้รับการยกเว้นภาษี แต่สำหรับผลประโยชน์ที่เกิดจาก เงินสะสม เงินสมทบ(ซึ่งจ่ายโดยนายจ้าง) และผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ จะมีภาระภาษีหรือไม่นั้นเป็นไปตาม เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ได้รับยกเว้นภาษี เมื่อสมาชิกหรือลูกจ้าง
1.1 เกษียณอายุ ตามอายุที่ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัทนายจ้างแต่ต้องไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี
1.2 ทุพพลภาพ ไม่ว่าสาเหตุแห่งการทุพพลภาพจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องมีแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ตรวจ และแสดงความเห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้
1.3 ตาย ไม่ว่าสาเหตุแห่งการตายจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ก็ตาม
ลูกจ้างควรขอหลักฐานรับรองสาเหตุการออกจากงานจากนายจ้างว่า ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานเอกสารแนบในการยกเว้นภาษีเงินได้ ส่วนกรณีเกษียณอายุก่อน กำหนด (early retirement) ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขนี้นะค่ะ
2. เสียภาษีบางส่วน
ลูกหากลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่สิ้นสมาชิกภาพก่อนเกษียณอายุ ให้คำนวณเงินได้ที่จะต้องนำ ไปคำนวณภาษีตามสูตร ดังต่อไปนี้
(เงินสมทบ + ผลประโยชน์ของเงินสะสม + ผลประโยชน์ของเงินสมทบ )– (7,000 x ปีที่ทำงานกับนายจ้าง รายปัจจุบัน) = A แล้วให้นำจำนวนเงินได้ที่คำนวณได้(A) ดังกล่าวไปหักค่าใช้จ่ายได้อีก 50% หลังจากนั้นก็นำเอาไปรวมกับรายได้อื่นๆ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ในปีภาษีที่ได้รับเงินนั้นตามฐานภาษีนั้นๆ ต่อไป
3. เสียภาษีบางส่วน
หากไม่เข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งจากข้างต้นก็ต้องนำเงินทั้งสามส่วน (เงินสมทบ ผลประโยชน์ของ เงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบ )ที่ได้รับทั้งหมดมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ใน ปีภาษีที่ได้รับเงินนั้นตามฐานภาษีเงินได้ต่อไป
อย่างไรก็ดีสำหรับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนงาน สามารถจะรักษาสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีเอาไว้ได้ด้วยการขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมก่อน ซึ่งสามารถดำรงเงินไว้ในกองทุนเดิมได้ไม่เกิน 1 ปี โดยมีค่าธรรมเนียม 500 บาท และเมื่อได้งานใหม่แล้วจึงค่อยแจ้งโอนย้ายเงินจากกองทุนเดิมไปยังกองทุนใหม่ ก็จะทำให้ความเป็นสมาชิกภาพในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรายังคงอยู่ต่อไป โดยไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่และ ไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วยค่ะ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือได้ว่า เป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่นายจ้างมอบให้กับลูกจ้างในขณะที่ทำงานอยู่ เมื่อถึง เวลาที่ลูกจ้างเกษียณอายุ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างช่วยกันสะสมและสมทบไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ ก็จะตกเป็นของลูกจ้างเพื่อไว้ใช้ดูแลตนเองต่อไปในยามแก่เฒ่า เป็นน้ำใจจากนายจ้าง สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ขอชื่นชม และขอเป็นตัวแทนลูกจ้างขอบคุณนายจ้างทุกรายที่สมัครใจจัดตั้ง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ค่ะ