about-icon-6

คำถามที่พบบ่อย

qa-icon

คำถามที่พบบ่อย

🆀 RMF…เครื่องมือเพื่อการเกษียณอายุ


ดิฉันได้ยินมาหลายปีแล้วว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการออมเงินไว้ใช้ยามแก่ชรา อยากทราบว่ากองทุนนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงหรือไม่ รัฐบาลรับประกันหรือเปล่า
🅰 ปัจจุบัน ทุกคนต้องทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ทำให้สถาบันครอบครัวเริ่มห่างเหิน ใครทำมาหาได้ก็ต้องหา วิธีเก็บออมเงินเอาไว้ใช้ยามแก่กันเอาเอง จะไปหวังพึ่งลูกหลานนั้นเห็นท่าจะยากเสียแล้ว รัฐบาลและเอกชน ได้รณรงค์ส่งเสริมเรื่องนี้กันอย่างเป็นจริงเป็นจังมาโดยตลอด และหนึ่งในเครื่องมือนั้นก็คือ กองทุนรวมเพื่อ การเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund ) หรือ RMF ที่ผู้ถามได้ยินมานั่นเอง

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการออมในระยะยาว โดยกำหนดให้มีเงื่อนไขในการลงทุน ซึ่งเปรียบเสมือนปราการป้องกันไม่ให้เงินลงทุนก้อนนี้ถูกไถ่ถอนไปใช้ ก่อนที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ในแต่ละปีที่มีการลงทุน กรมสรรพากรใจดีอนุญาตให้ผู้ลงทุนสามารถนำเงินที่จ่าย เข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้นค่ะ แต่มี สิ่งหนึ่งที่ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงในการลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ นั่นก็คือ “ความเสี่ยง” จากการลงทุน การลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ก็คงเหมือนกับการลงทุนอื่นทั่วๆ ไป มีความเสี่ยงทั้งนั้น รัฐบาลไม่ได้ รับประกันค้ำประกันอะไรแค่สนับสนุนโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนก็สามารถจะพิจารณาเลือกลงทุนในนโยบายการลงทุนแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะกับเงินลงทุน ส่วนที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ ถ้าจะพูดให้ฟังดูน่ากลัวหน่อย ก็คือ ผู้ลงทุนสามารถยอมรับผลขาดทุน ได้มากน้อยเพียงใด ดังนี้ :-

» ถ้าผู้ลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่มีนโยบายการลงทุนส่วนใหญ่ในหุ้นสามัญ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เงินส่วนนั้นก็ควรจะเป็นเงินในส่วนที่ผู้ลงทุนสามารถ ยอมรับการขาดทุนได้เกือบทั้งหมด

» ถ้าผู้ลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล หรือ รัฐวิสาหกิจ ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ เป็นต้น เงินส่วนนั้นก็ควรจะเป็น เงินลงทุนส่วนที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับการขาดทุนได้บางส่วน

» ถ้าผู้ลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่มีนโยบายการลงทุนแบบผสม คือ มีการลงทุน ทั้งในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และลงทุนในตราสารหนี้ เงินส่วนนั้นก็ ควรจะเป็นเงินลงทุนส่วนที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับการขาดทุนได้บางส่วนเช่นกัน

» ถ้าผู้ลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่มีนโยบายการลงทุนแบบคุ้มครองเงินต้น คือ เน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้เพื่อให้ผู้ลงทุนได้เงินต้นคืนครบ 100% และส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ หรือตราสารการเงินอื่นๆ เพื่อเพิ่มผลตอบแทน เงินส่วนนั้นก็ควรเป็นเงินลงทุนในส่วนที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับ ได้ ถ้าหากจะไม่ได้รับผลตอบแทนกลับมา แต่อย่างน้อยผู้ลงทุนก็ต้องได้รับเงินต้นคืนครบตามจำนวนที่ลงทุน

อย่าลืม...“ความเสี่ยงจากการลงทุน” นั้นหมายถึง การที่ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนคลาดเคลื่อน ไปจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งมีความสองนัย คือ ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับจริงอาจมากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดหวัง

เนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นการลงทุนที่ต้องผูกพันผู้ลงทุนไปในระยะยาว อีกทั้งยังมี ความเสี่ยงในการลงทุน ทำให้ผู้ลงทุนบางคนลังเลที่จะลงทุนผ่านกองทุนนี้ เพราะไม่มีความมั่นใจว่าเงินที่ลงทุน ไปในแต่ละปีนั้นสุดท้ายแล้วเงินทุนจะเพิ่มพูนงอกเงยขึ้น หรือลดน้อยลงไป หรือแม้แต่ไม่มีความมั่นใจว่า ในอนาคต จะเกิดเหตุการณ์ใดๆ จนทำให้ต้องนำเงินส่วนนี้ออกมาใช้ก่อนจนทำให้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งก็ไม่แปลก ที่ผู้ลงทุนจะคิดเช่นนี้ เพราะเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่เป็นการระมัดระวังแบบวิตกกังวลเกินไปหรือเปล่า ทุกวันนี้ผู้ลงทุนไม่สามารถออมเงินโดยการฝากธนาคารกินดอกเบี้ยอีกต่อไป เพราะดอกเบี้ยออกไม่พอกิน ดังนั้น ทางเลือกใหม่ๆ ในการออมของผู้ลงทุนที่ต้องการโอกาสให้เงินทำงาน ก็คือการรู้จักใช้เครื่องมือในการลงทุนที่ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ทางการเงินของตัวเอง “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นเครื่องมือเพื่อการเกษียนที่ สมบูรณ์แบบอย่างหนึ่ง ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลายนโยบายการลงทุน หากผู้ลงทุนสละเวลาพิจารณาดูสักนิด ก็น่าจะมีสักกองที่ถูกใจผู้ลงทุนนะคะ