คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
🆀 การวัดผลการดำเนินงานกองทุนรวม (Benchmark)
Benchmark คืออะไร เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมอย่างไร
🅰 “Benchmark” คือ เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหรือผลตอบแทนจาก
การลงทุนในลักษณะอื่นๆด้วย โดยกองทุนรวมที่บริหารการลงทุนได้ดีนั้น อย่างน้อยก็ต้องมีผลตอบแทนจาก
การลงทุนในระดับที่ไม่น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบจะเป็นดัชนีที่ชี้ให้ผู้ลงทุนได้ทราบว่า
» กองทุนรวมที่ผู้ลงทุนถืออยู่นั้น ควรจะให้ผลตอบแทนเท่าใดในช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการวัดผลช่วงหนึ่งๆ
» กองทุนรวมที่ผู้ลงทุนถืออยู่นั้น ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหรือต่ำกว่า ผลตอบแทนที่ควรจะเป็นมากน้อย เพียงใด
สำหรับเกณฑ์มาตรฐานที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ในปัจจุบันนั้นได้แก่
1. กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย อันได้แก่ SET INDEX หรือ SET 50 INDEX
2. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับ ค่าเฉลี่ยระหว่าง ดัชนีตราสารหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (TBDC Government Bond Index ) แบบ Total Return Index ซึ่งจัดทำโดยศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1.0 ล้านบาท (ถ้ามี) ระยะเวลา 1 ปี ของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง อันได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดัชนี ตราสารหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (TBDC Government Bond Index) แบบ Total Return Index นั้น จะเป็นดัชนีที่นอกจากจะนำเอาดอกเบี้ยคงค้าง เข้ามาในการคำนวณแล้ว ยังได้รวมเอาดอกเบี้ยจ่าย (Coupon Interest) ของพันธบัตรที่มีกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันที่คำนวณค่าดัชนีมาคำนวณด้วย
3. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับดัชนี ตราสารหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (TBDC Government Bond Index ) แบบ Total Return Index
4. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1.0 ล้านบาท (ถ้ามี) ระยะเวลา 1 ปี ของธนาคาร พาณิชย์ 3 แห่ง อันได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
5. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับ อัตราดอกเบี้ยเงิน ฝากเฉลี่ยประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1.0 ล้านบาท (ถ้ามี) ระยะเวลา 3 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่งอันได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
6. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนผสม/ผสมแบบยืดหยุ่น จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับค่าเฉลี่ย ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อันได้แก่ SET INDEX หรือ SET 50 INDEX และค่าเฉลี่ย ของดัชนี ตราสารหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (TBDC Government Bond Index ) แบบ Total Return Index กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1.0 ล้านบาท (ถ้ามี) ระยะเวลา 1 ปี ของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง อันได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
7. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนเฉพาะกลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง จะเปรียบเทียบผล การดำเนินงานกับ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ (ถ้ามี)
8. กองทุนรวมหน่วยลงทุนและกองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ ไม่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้ใน การเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน เพราะความหลากหลายของหลักทรัพย์ และทรัพย์สินรวมถึงระดับความ เสี่ยงที่กองทุนรวมเหล่านี้จะไป ลงทุนได้มีความแตกต่าง กันไป และมีลักษณะเฉพาะในแต่ละกองทุน
อย่างไรก็ดีในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมกับเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบโดย บริษัทจัดการนั้น บริษัทจัดการอาจจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของ กองทุนรวมในแต่ละนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากที่กล่าวมาแล้วได้ หากมีการระบุชัดเจนไว้ใน โครงการจัดการกองทุนรวม นอกจากนั้น ผู้ลงทุนก็สามารถที่จะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อจะนำมาใช้ เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ตามที่ผู้ลงทุนเห็นว่าสมควรได้เช่นกัน แต่เกณฑ์มาตรฐานที่จะ นำมาใช้เปรียบเทียบกับการลงทุนของกองทุนรวมในแต่ละนโยบายการลงทุนนั้น ควรจะมีลักษณะและระดับ ความเสี่ยงของการลงทุนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของการลงทุนของกองทุนรวมในนโยบายนั้นๆ ด้วย
เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบจะเป็นดัชนีที่ชี้ให้ผู้ลงทุนได้ทราบว่า
» กองทุนรวมที่ผู้ลงทุนถืออยู่นั้น ควรจะให้ผลตอบแทนเท่าใดในช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการวัดผลช่วงหนึ่งๆ
» กองทุนรวมที่ผู้ลงทุนถืออยู่นั้น ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหรือต่ำกว่า ผลตอบแทนที่ควรจะเป็นมากน้อย เพียงใด
สำหรับเกณฑ์มาตรฐานที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ในปัจจุบันนั้นได้แก่
1. กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย อันได้แก่ SET INDEX หรือ SET 50 INDEX
2. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับ ค่าเฉลี่ยระหว่าง ดัชนีตราสารหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (TBDC Government Bond Index ) แบบ Total Return Index ซึ่งจัดทำโดยศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1.0 ล้านบาท (ถ้ามี) ระยะเวลา 1 ปี ของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง อันได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดัชนี ตราสารหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (TBDC Government Bond Index) แบบ Total Return Index นั้น จะเป็นดัชนีที่นอกจากจะนำเอาดอกเบี้ยคงค้าง เข้ามาในการคำนวณแล้ว ยังได้รวมเอาดอกเบี้ยจ่าย (Coupon Interest) ของพันธบัตรที่มีกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันที่คำนวณค่าดัชนีมาคำนวณด้วย
3. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับดัชนี ตราสารหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (TBDC Government Bond Index ) แบบ Total Return Index
4. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1.0 ล้านบาท (ถ้ามี) ระยะเวลา 1 ปี ของธนาคาร พาณิชย์ 3 แห่ง อันได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
5. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดเงิน จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับ อัตราดอกเบี้ยเงิน ฝากเฉลี่ยประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1.0 ล้านบาท (ถ้ามี) ระยะเวลา 3 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่งอันได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
6. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนผสม/ผสมแบบยืดหยุ่น จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับค่าเฉลี่ย ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อันได้แก่ SET INDEX หรือ SET 50 INDEX และค่าเฉลี่ย ของดัชนี ตราสารหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (TBDC Government Bond Index ) แบบ Total Return Index กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1.0 ล้านบาท (ถ้ามี) ระยะเวลา 1 ปี ของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง อันได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
7. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนเฉพาะกลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง จะเปรียบเทียบผล การดำเนินงานกับ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ (ถ้ามี)
8. กองทุนรวมหน่วยลงทุนและกองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ ไม่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้ใน การเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน เพราะความหลากหลายของหลักทรัพย์ และทรัพย์สินรวมถึงระดับความ เสี่ยงที่กองทุนรวมเหล่านี้จะไป ลงทุนได้มีความแตกต่าง กันไป และมีลักษณะเฉพาะในแต่ละกองทุน
อย่างไรก็ดีในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมกับเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบโดย บริษัทจัดการนั้น บริษัทจัดการอาจจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของ กองทุนรวมในแต่ละนโยบายการลงทุนเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากที่กล่าวมาแล้วได้ หากมีการระบุชัดเจนไว้ใน โครงการจัดการกองทุนรวม นอกจากนั้น ผู้ลงทุนก็สามารถที่จะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อจะนำมาใช้ เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ตามที่ผู้ลงทุนเห็นว่าสมควรได้เช่นกัน แต่เกณฑ์มาตรฐานที่จะ นำมาใช้เปรียบเทียบกับการลงทุนของกองทุนรวมในแต่ละนโยบายการลงทุนนั้น ควรจะมีลักษณะและระดับ ความเสี่ยงของการลงทุนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของการลงทุนของกองทุนรวมในนโยบายนั้นๆ ด้วย