about-icon-6

คำถามที่พบบ่อย

qa-icon

คำถามที่พบบ่อย

🆀 เมื่อนายจ้าง…คิดจะตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตอน 1


ผมอยากทราบว่า บริษัทเล็กๆ (มีพนักงานประมาณ 10 คน) สามารถจะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้หรือไม่ และถ้าสามารถจัดตั้งได้ สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบก่อนจะดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอะไรบ้างครับ
🅰 สำหรับการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนสมาชิกว่าจะต้องมีกี่คน กองทุนสำรอง เลี้ยงชีพสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ลูกจ้างร่วมกับนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและ นายจ้างจ่ายเงินสมทบ ดังนั้น ไม่ว่าบริษัทจะมีพนักงานเพียงคนเดียว หรือหลายคน ถ้าทุกคนสมัครใจร่วมกันที่จะ จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถทำได้ค่ะ

สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเมื่อคิดจะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีดังต่อไปนี้ คือ

ข้อมูลสำคัญๆ เกี่ยวกับ นายจ้าง ลูกจ้าง และการคัดเลือกบริษัทจัดการ กล่าวคือ

1. นายจ้าง :

ต้องสำรวจดูความพร้อมของนายจ้างว่าสามารถรองรับระบบงานที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ได้แก่

» ขนาดองค์กรของนายจ้าง เป็นธุรกิจที่ใช้หรือจะต้องใช้ลูกจ้างประจำมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ก็เพื่อนำไป เป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกรูปแบบของกองทุน ว่าจะเลือกจัดตั้งในรูปแบบที่เป็นกองทุนเดี่ยว (single fund) หรือกองทุนร่วม (pooled fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนายจ้างหลายรายร่วมกันจัดตั้ง

» การเติบโตขององค์กร ดูได้จากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของยอดขาย รายได้ หรือกำไร แล้วมาประเมินภาพ ขององค์กรในอนาคตดู ว่าจะมีศักยภาพที่จะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนได้อย่างสม่ำเสมอหรือเปล่า เหล่านี้เป็นต้น

» ความสามารถในการจ่ายเงินเข้ากองทุน หมายถึง อัตราการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนของฝั่งนายจ้างว่า มีมากน้อยเพียงไร ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องเท่ากับ หรือ มากกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง (เงินสะสม ของลูกจ้าง = 2%-15% ของค่าจ้าง)

» พนักงานที่จะรับผิดชอบในเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยนายจ้างควรมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถติดต่อเรื่องการนำส่งเงินเข้ากองทุน และการจัดทำรายชื่อสมาชิกกองทุน รวมทั้งรับผิดชอบงานธุรการอื่นๆ ได้ โดยอาจเป็นบุคลากรจากฝ่ายการพนักงานหรือฝ่ายการเงินก็ได้

2. ลูกจ้าง :

ตรวจสอบดูว่า ผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจะมีส่วน ทำให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งมีนโยบายในการลงทุน ลักษณะ หรือรูปแบบ เป็นอย่างนั้นด้วย เช่น

» ความสามารถในการออมของลูกจ้าง โดยอาจพิจารณาจากอายุของลูกจ้างหรือรายได้ต่อเดือนของ ลูกจ้าง แล้วประมาณการจำนวนเงินที่ลูกจ้างสามารถจะออมได้ตามศักยภาพ และความพร้อมของแต่ละคน เพื่อนำมาใช้พิจารณาอัตราการจ่ายเงินสะสมของลูกจ้าง เช่น อาจจะกำหนดขั้นต่ำเอาไว้เป็นกลางๆ แล้วเพิ่มเป็นขั้นบันได ไปตามอายุงาน เป็นต้น

» ความรู้ความเข้าใจของลูกจ้างเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และความสำคัญของการออมเพื่อเกษียณ อายุ มีมากน้อยเพียงไร เพื่อนำมาใช้วางแผนสำหรับการให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวแก่พวกเขาได้ อย่างเหมาะสม

3. ลูกจ้าง :

เนื่องจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กำหนดให้ผู้บริหารเงินของกองทุนเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นายจ้าง ดังนั้น นายจ้างจึงต้องมองหานักบริหารมืออาชีพ หรือที่เรียกว่า บริษัทจัดการ เข้ามาช่วยบริหารเงินก้อนนี้ โดย ผู้ประกอบธุรกิจรับบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ส่วนบุคคลได้ เพราะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดเป็นกองทุนส่วนบุคคลประเภทหนึ่งด้วย การศึกษาข้อมูลของบริษัท จัดการแต่ละบริษัทว่า มีประวัติความเป็นมาและการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นอย่างไร ก่อนการตัดสินใจเลือกให้มาบริหาร กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท นับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา ทั้งนี้ สามารถสืบค้นรายชื่อบริษัทจัดการ ที่ให้บริการรับบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้จาก เว็บไซต์กองทุน สำรองเลี้ยงชีพไทย www.thaipvd.com ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)ในหัวข้อ ผู้ให้บริการ - บริษัทจัดการ