about-icon-6

คำถามที่พบบ่อย

qa-icon

คำถามที่พบบ่อย

🆀 อายุกับการลงทุน


ขอคำแนะนำว่า เราควรแบ่งสัดส่วนเงินออมอย่างไร เพื่อนำไปลงทุนให้เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุของชีวิต เนื่องจากเลือกไม่ถูกว่าควรจะลงทุนในหลักทรัพย์อะไร เป็นจำนวนมากน้อยแค่ไหน... เคยได้ยินมาว่า ถ้าอายุน้อยๆ ควรลงทุนในหุ้นมากๆ ได้ แต่ถ้าอายุมากๆ ไม่ควรลงทุนในหุ้น ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ อย่างไร
🅰 การลงทุน คือ ทางเลือกในการบริหารเงินออมที่มีอยู่ ให้งอกเงย ตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่ตัวเองได้ตั้ง เอาไว้ ในขอบข่ายของความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ หากเสี่ยงมากก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนมาก เสี่ยงน้อยก็มี โอกาสได้รับผลตอบแทนน้อย

ดังนั้น ก่อนพิจารณาตัดสินใจเลือกลงทุน ผู้ลงทุนต้องถามตัวเองว่า จะวางเป้าหมายการลงทุนไว้อย่างไร แล้วยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้นั้นนอกจากนิสัยใจคอ หรือความชอบส่วนตัวแล้วก็ยังมี อายุ ภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบ ฐานะการเงินในปัจจุบัน ความสามารถใน การหารายได้ในอนาคต หรือแม้กระทั่งว่า ณ ตอนนี้เรามีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเพียงพอแล้วหรือยัง เหล่านี้เป็นต้น

แนวทางการลงทุนแบบกลางๆ โดยอ้างอิงกับสมมติฐานในลักษณะของคนทั่วๆ ไปเกี่ยวกับปัจจัยและข้อจำกัด ในการลงทุนในแต่ละช่วงอายุของคนเรา มีดังต่อไปนี้ คือ

อายุ 21-30 ปี เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน ยังไม่มีภาระต้องรับผิดชอบมากนัก และเป็นวัยที่ยังมีเวลาและ มีกำลังใน การหารายได้อีกนาน ดังนั้นคนในช่วงวัยนี้จึงสามารถจัดสรรเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูง ได้เกือบทั้งหมด เพราะอยู่ในวัยที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มาก และหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็มีเวลามาก เพียงพอที่จะเรียนรู้ แก้ไขข้อผิดพลาดนั้น โดยอาจจะลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้นได้ถึง 90% ส่วนอีก 10% ที่เหลือเก็บ ไว้ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือกองทุน รวมตราสารหนี้ เป็นต้น

อายุ 31-40 ปี เป็นวัยที่การงานเริ่มมั่นคง รายได้เพิ่มสูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มตามมา เป็นทวีคูณเพราะ อยู่ในช่วงที่กำลังสร้างครอบครัว แต่งงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ เมื่อมีภาระผูกพันที่ต้อง รับผิดชอบมาก และต่อเนื่อง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก็ลดน้อยลง การลงทุนของคนในวัยนี้จึง อาจจะต้องลด สัดส่วนการลงทุน ในตราสารทุนหรือหุ้นลงจาก 90% ให้เหลือเพียง 50% ของเงินออม แล้วไปเพิ่มสัดส่วน การลงทุนในตราสารหนี้ให้มากขึ้นใน จำนวนที่เท่าๆ กัน

อายุ 41-55 ปี เป็นวัยที่มีหน้าที่การงานมั่นคง มีรายได้สูง แต่ก็มีรายจ่ายที่สูงไม่แพ้กัน การลงทุนของคนในวัยนี้ ควรเลือกลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เริ่มเน้นความปลอดภัยของเงินต้นเป็นหลัก เพื่อจะได้เก็บเงินส่วนหนึ่ง ไว้ใช้ในยามชรา แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรละเลยการลงทุนในตราสารทุนไปซะเลยทีเดียว เพียงแต่ต้องลดสัดส่วนลง เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มพูนผลตอบแทนให้งอกเงยนอกเหนือจากดอกเบี้ยและเงินปันผลนั่นเอง สัดส่วนที่เหมาะสม ในการลงทุนของคนในวัยนี้ คือ 70% ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ อีก 30% ลงทุนในตราสารทุน โดยอาจแบ่ง การลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อนำไปใช้ลด หย่อนภาษีด้วยก็ดี เนื่องจากคนในวัยนี้ ต้องแบกรับภาระภาษีค่อนข้างสูง อันเนื่องมาจากมีรายได้ที่สูงนั่นเอง

อายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นวัยเกษียณที่แทบจะไม่มีรายได้แล้วสำหรับบางคน แต่ยังคงจับจ่ายใช้สอยอยู่เช่นเดิม แม้ค่าใช้จ่ายบางอย่างในชีวิตประจำวันจะเริ่มลดน้อยลง แต่กลับต้องสำรองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล เพิ่มมากขึ้นตามวัยและ สุขภาพ ดังนั้น เงินออมเกือบทั้งหมดในชีวิตควรอยู่ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ที่มี ความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร หรือกองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า หากพิจารณาการลงทุนจากข้อจำกัด หรือปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยทั่วๆ ไป ดังที่กล่าวมาในข้างต้น ก็ไม่ผิดไปจากที่คุณผู้ถามได้ยินได้ฟังมา นั่นคือ คนหนุ่มสาวที่อายุยังน้อย สามารถจะลงทุนในตราสารทุนที่มี ความเสี่ยงได้ เป็นสัดส่วนที่สูง ส่วนคนที่มีอายุมากแล้ว การลงทุนควรจะจัดสรรไปลงทุนในตราสารที่มี ความเสี่ยงต่ำจะดีกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ลงทุนจะปฏิบัติแตกต่างไปจากนี้ไม่ได้ เพราะถ้าหนุ่มสาว ท่านใดไม่ชื่นชอบความเสี่ยง การที่เขาจะไปลงทุนในหุ้นเป็นส่วนมาก ก็จะไม่สอดคล้องกับลักษณะและอุปนิสัย ของตน ส่วนผู้ลงทุน ท่านใดที่แม้จะสูงวัย แต่มีทรัพย์สินสะสมไว้มากเพียงพอแล้วจะใจกล้าสามารถยอมรับ ความเสี่ยงได้มากนำเงินไปลงทุนในหุ้นก็คงไม่ผิดแปลกแต่อย่างใด

ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจเลือกลงทุน อย่าลืมสำรวจความพร้อมของตัวเองให้ครบทุกๆ ด้านนะคะ แล้วนำมา ประมวลผลดูว่า เงินออมที่มีอยู่นั้น ควรนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ใดในสัดส่วนและจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้ได้รับผล ตอบแทนที่งอกเงย และไม่ผิดเพี้ยนไปจากเป้าหมายที่วางเอาไว้