คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
🆀 ความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
ช่วงนี้ ดิฉันได้ยินอยู่บ่อยๆ เรื่องการรณรงค์ให้คนรู้จักใช้ รู้จักจ่าย รู้จักวางแผนทางการเงิน อยากทราบว่าทำไม คนเรา จะต้องมีแผนในเรื่องเงินๆ ทองๆ ด้วย มันมีความจำเป็นหรือมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนคะ
🅰 สถานการณ์ในปัจจุบันนี้ การวางแผนทางการเงินไว้แต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก ในอดีตเราอาจจะไม่เห็นว่า
สิ่งเหล่านี้จะสลักสำคัญอะไรมากนัก ก็เนื่องมาจากว่า วิถีชีวิตของคนในยุคก่อนนั้นไม่ได้รีบเร่งอย่างทุกวันนี้
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แม้จะไม่มีเงินทอง ก็ไม่ได้อดตาย เนื่องด้วยทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์อยู่
แต่เดี๋ยวนี้ตัวใครก็ตัวเขา ไม่มีเงินถึงกับอดตายได้ทีเดียว อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บ ก็มีหลากหลายขึ้น และมี
ความรุนแรงขึ้นทุกวัน ในขณะที่วิทยาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า ทำให้คนเรามีอายุที่ยืนยาวขึ้น ดังนั้น
การวางแผนทางการเงินเพื่อให้มีเงินไว้จับจ่ายใช้สอยอย่างไม่ขาดแคลน ในทุกๆ เรื่อง จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำ
และต้องทำตั้งแต่เนิ่นๆ เสียด้วย ถ้าไม่อยากลำบากตอนแก่ เหตุผลหลักๆ มีอยู่ 5 ประการ ที่ผู้รู้เขาบอกเอาไว้ว่า
ทำไมคนเราจึงต้องวางแผนทางการเงิน ดังต่อไปนี้ คือ
1. อนาคตคนเราจะมีอายุยืนยาวขึ้น กล่าวคือ แม้ว่า ในปัจจุบันจะมีเชื้อโรคเพิ่มขึ้นมากมายหลากหลาย สายพันธุ์ แต่ด้วยวิวัฒนาการด้านการแพทย์ที่ทันสมัยไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน สามารถจะเอาชนะสยบ เชื้อโรคเหล่านั้นได้ ส่งผลให้คนเราโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น และจากตัวเลขการคาดประมาณประชากร ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (www.nesdb.go.th) แนวโน้ม ผู้หญิงจะมีอายุยืนกว่าผู้ชายเสียด้วยซิคะ ฉะนั้นผู้หญิงทั้งหลายต้องตื่นตัวเรื่องการวางแผนทางการเงินให้ กับตัวเองและครอบครัวเป็นสองเท่าค่ะ คุณผู้ชายก็ช่วยด้วยนะคะ เพราะคุณอาจจะไม่ใช่ผู้ชายที่โชคร้าย ตายก่อนใครๆก็ได้ค่ะ
2. สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ในอดีตสังคมไทยจะอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ ลูกหลานช่วยกัน ดูแลเลี้ยงดู ผู้เฒ่า คนชรา แต่ปัจจุบัน ด้วยสภาพเศรษฐกิจทำให้ทุกคนต้องแยกย้ายกันไป ทำมาหากิน จากครอบครัวใหญ่ กลายเป็น ครอบครัวเดี่ยว ฉะนั้นการจะหวังพึ่งพิงลูกหลานในยามแก่เฒ่าจึงเป็นเรื่องที่ ไม่อาจคาดหวังได้มากนัก การเตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อไว้ใช้ในยามชรา โดยไม่ต้องเป็นภาระ ให้ผู้อื่น ภาระของสังคม หรือภาระของรัฐ จึงสำคัญอย่างยิ่ง
3. ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจมีมากขึ้น กล่าวคือ เมื่อประเทศไทยของเราเปลี่ยนจากประเทศ เกษตรกรรมที่พึ่งพาตนเองไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่ต้องพึ่งพิงและเกี่ยวข้องกับนานาประเทศ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็มักจะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย ยิ่งถ้าหากเกิดกับประเทศที่เราต้องเกี่ยวข้อง พึ่งพิงโดยตรงก็จะได้รับผลกระทบมากเป็นทวีคูณ บริษัทต่างๆ ก็ต้องปรับตัวเองเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน และอยู่รอดต่อไปได้ พนักงานซึ่งเป็นบุคลากรของบริษัท ก็จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันด้วย พนักงานคนใดที่มีความสามารถ เป็นตัวจักรสำคัญในระดับแถวหน้า ก็ไม่น่าจะวิตกกังวลอะไรมากนัก แต่หากพนักงานคนใดไม่ใช่ฟันเฟืองที่สำคัญในองค์กรนั้นๆ แล้วล่ะก็มีสิทธิ จะตกงานเอาได้ง่ายๆ ในสถานการณ์ที่วิกฤต ฉะนั้นในยามที่มีงานทำ การวางแผนทางการเงินจึงสำคัญมาก เพราะหากเกิดตกงานไป จะได้ไม่ต้องมาเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันทั้งหลาย ให้สลดกัน อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ทุกวันนี้
4. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ กล่าวคือ อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่า ณ ตอนนี้วิธีการออมเงินด้วยการฝากธนาคารที่เราคุ้นเคยกันอยู่นั้น ให้ผลตอบแทน น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินฝากที่เราเก็บออมไว้มีมูลค่าเพิ่มไม่ทันกับราคาสินค้าที่ แพงขึ้น แม้บางคนยังไม่รู้ตัวและยังยืนยันที่จะฝากเงินกับธนาคารต่อไป ดิฉันก็อยากจะบอกต่อไปอีกว่า อนาคตรัฐบาลจะตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้น และจะมีการค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งอาจจะทำให้ได้รับการประกันไม่ครบทั้ง 100 % เช่นที่ผ่านๆ มาอีกแล้ว
5. ในอนาคตทางเลือกในการลงทุนจะมีมากขึ้นและสลับซับซ้อนขึ้น กล่าวคือ เนื่องจากแรงกดดันจาก อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ อันได้แก่ ตราสารทุน (หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น เป็นต้น) ตราสารหนี้ (ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลหรือ รัฐวิสาหกิจ ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ เป็นต้น) กองทุนรวม นอกจากนั้นยังมีตราสารที่เกิดใหม่ๆ ในประเทศเรา อย่างเช่น ตราสารอนุพันธ์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น เหล่านี้เราสามารถเอาเงินไปลงทุน เพื่อให้เงิน ทำงานแทนเราได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากเราไม่ตื่นตัวในเรื่องของการวางแผนทางการเงินแล้วล่ะก็ เราจะ ไม่ทราบเลยว่าในโลกนี้ยังมีช่องทางอื่นๆ อีกมากมายที่นอกเหนือจากการฝากเงินไว้กับธนาคาร และ ช่องทางเหล่านี้ หากเรารู้จักเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสม ก็สามารถช่วยให้เราอยู่ได้อย่างสุขสบายใน อนาคตค่ะ
แล้วคุณล่ะ...เริ่มวางแผนทางการเงินหรือยัง ? ถ้ายัง...ก็เริ่มเสียแต่วันนี้เพื่ออนาคตที่มั่นคงนะคะ...หากต้องการ รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโทรมาพูดคุยกันได้ ที่ ศูนย์ข้อมูลสมาคมบริษัทจัดการลงทุน 0-2264-0900 กด 6 ค่ะ
1. อนาคตคนเราจะมีอายุยืนยาวขึ้น กล่าวคือ แม้ว่า ในปัจจุบันจะมีเชื้อโรคเพิ่มขึ้นมากมายหลากหลาย สายพันธุ์ แต่ด้วยวิวัฒนาการด้านการแพทย์ที่ทันสมัยไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน สามารถจะเอาชนะสยบ เชื้อโรคเหล่านั้นได้ ส่งผลให้คนเราโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น และจากตัวเลขการคาดประมาณประชากร ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (www.nesdb.go.th) แนวโน้ม ผู้หญิงจะมีอายุยืนกว่าผู้ชายเสียด้วยซิคะ ฉะนั้นผู้หญิงทั้งหลายต้องตื่นตัวเรื่องการวางแผนทางการเงินให้ กับตัวเองและครอบครัวเป็นสองเท่าค่ะ คุณผู้ชายก็ช่วยด้วยนะคะ เพราะคุณอาจจะไม่ใช่ผู้ชายที่โชคร้าย ตายก่อนใครๆก็ได้ค่ะ
2. สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ในอดีตสังคมไทยจะอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ ลูกหลานช่วยกัน ดูแลเลี้ยงดู ผู้เฒ่า คนชรา แต่ปัจจุบัน ด้วยสภาพเศรษฐกิจทำให้ทุกคนต้องแยกย้ายกันไป ทำมาหากิน จากครอบครัวใหญ่ กลายเป็น ครอบครัวเดี่ยว ฉะนั้นการจะหวังพึ่งพิงลูกหลานในยามแก่เฒ่าจึงเป็นเรื่องที่ ไม่อาจคาดหวังได้มากนัก การเตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อไว้ใช้ในยามชรา โดยไม่ต้องเป็นภาระ ให้ผู้อื่น ภาระของสังคม หรือภาระของรัฐ จึงสำคัญอย่างยิ่ง
3. ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจมีมากขึ้น กล่าวคือ เมื่อประเทศไทยของเราเปลี่ยนจากประเทศ เกษตรกรรมที่พึ่งพาตนเองไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่ต้องพึ่งพิงและเกี่ยวข้องกับนานาประเทศ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็มักจะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย ยิ่งถ้าหากเกิดกับประเทศที่เราต้องเกี่ยวข้อง พึ่งพิงโดยตรงก็จะได้รับผลกระทบมากเป็นทวีคูณ บริษัทต่างๆ ก็ต้องปรับตัวเองเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน และอยู่รอดต่อไปได้ พนักงานซึ่งเป็นบุคลากรของบริษัท ก็จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันด้วย พนักงานคนใดที่มีความสามารถ เป็นตัวจักรสำคัญในระดับแถวหน้า ก็ไม่น่าจะวิตกกังวลอะไรมากนัก แต่หากพนักงานคนใดไม่ใช่ฟันเฟืองที่สำคัญในองค์กรนั้นๆ แล้วล่ะก็มีสิทธิ จะตกงานเอาได้ง่ายๆ ในสถานการณ์ที่วิกฤต ฉะนั้นในยามที่มีงานทำ การวางแผนทางการเงินจึงสำคัญมาก เพราะหากเกิดตกงานไป จะได้ไม่ต้องมาเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันทั้งหลาย ให้สลดกัน อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ทุกวันนี้
4. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ กล่าวคือ อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่า ณ ตอนนี้วิธีการออมเงินด้วยการฝากธนาคารที่เราคุ้นเคยกันอยู่นั้น ให้ผลตอบแทน น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินฝากที่เราเก็บออมไว้มีมูลค่าเพิ่มไม่ทันกับราคาสินค้าที่ แพงขึ้น แม้บางคนยังไม่รู้ตัวและยังยืนยันที่จะฝากเงินกับธนาคารต่อไป ดิฉันก็อยากจะบอกต่อไปอีกว่า อนาคตรัฐบาลจะตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้น และจะมีการค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งอาจจะทำให้ได้รับการประกันไม่ครบทั้ง 100 % เช่นที่ผ่านๆ มาอีกแล้ว
5. ในอนาคตทางเลือกในการลงทุนจะมีมากขึ้นและสลับซับซ้อนขึ้น กล่าวคือ เนื่องจากแรงกดดันจาก อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ อันได้แก่ ตราสารทุน (หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น เป็นต้น) ตราสารหนี้ (ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลหรือ รัฐวิสาหกิจ ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ เป็นต้น) กองทุนรวม นอกจากนั้นยังมีตราสารที่เกิดใหม่ๆ ในประเทศเรา อย่างเช่น ตราสารอนุพันธ์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น เหล่านี้เราสามารถเอาเงินไปลงทุน เพื่อให้เงิน ทำงานแทนเราได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากเราไม่ตื่นตัวในเรื่องของการวางแผนทางการเงินแล้วล่ะก็ เราจะ ไม่ทราบเลยว่าในโลกนี้ยังมีช่องทางอื่นๆ อีกมากมายที่นอกเหนือจากการฝากเงินไว้กับธนาคาร และ ช่องทางเหล่านี้ หากเรารู้จักเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสม ก็สามารถช่วยให้เราอยู่ได้อย่างสุขสบายใน อนาคตค่ะ
แล้วคุณล่ะ...เริ่มวางแผนทางการเงินหรือยัง ? ถ้ายัง...ก็เริ่มเสียแต่วันนี้เพื่ออนาคตที่มั่นคงนะคะ...หากต้องการ รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโทรมาพูดคุยกันได้ ที่ ศูนย์ข้อมูลสมาคมบริษัทจัดการลงทุน 0-2264-0900 กด 6 ค่ะ