คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
🆀 การขาย RMF และ LTF ระหว่างปี กับการคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ผู้ลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา มีภาระภาษีที่เกิดจากการลงทุนใน ตราสารทุน ตราสารหนี้ และ กองทุนรวม อย่างไรบ้าง ?
🅰 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 ถึงมาตรา 64 กำหนดให้มีการเก็บภาษีภายใต้เงื่อนไขและข้อยกเว้นจากเงินได้
ประเภทต่างๆ ของบุคคลธรรมดา ซึ่งมีส่วนหนึ่งครอบคลุมถึงเงินได้ประเภท
» เงินปันผล
» ดอกเบี้ยรับ
» ส่วนลดรับ
» และกำไรจากการขายหลักทรัพย์ (capital gain) ซึ่งผู้ลงทุนควรทราบ ดังนี้
ภาษีเงินปันผลจากการลงทุนใน :
» ตราสารทุน ผู้ลงทุนมีสิทธิที่จะเลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% หรือนำเงินปันผลที่ได้รับทั้งจำนวน ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีปลายปีโดยได้รับเครดิตภาษีเงินปันผลก็ได้
» กองทุนรวม ผู้ลงทุนมีสิทธิที่จะเลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% หรือนำเงินปันผลที่ได้รับทั้งจำนวน ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีปลายปี โดยไม่มีสิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลแต่อย่างใด
ภาษีดอกเบี้ยจากการลงทุนใน :
» ตราสารหนี้ ผู้ลงทุนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำดอกเบี้ยรับนั้นไป รวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปีก็ได้
ภาษีส่วนลดรับจากการลงทุนใน :
» ตราสารหนี้ ผู้ลงทุนเฉพาะที่เป็นผู้ทรงคนแรก ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และมีสิทธิเลือก ที่จะไม่นำส่วนลดรับนั้นไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปีก็ได้
ภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ (capital gain) :
» ตราสารทุน ได้รับยกเว้น (เฉพาะหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
» ตราสารหนี้ ผู้ลงทุนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำไปรวมคำนวณ เป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปี ยกเว้น Zero coupon bond ที่ผู้ทรงคนแรกได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% แล้ว
» กองทุนรวม ได้รับการยกเว้น
นอกจากนั้น ยังมีการลงทุนอีก 2 ประเภท ที่นอกจากผู้ลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีจากกำไรที่ได้รับแล้ว ยังได้รับสิทธิในการนำไปหักลดหย่อนภาษีประจำปีเป็นของแถมอีกด้วย นั่นก็คือ การลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อ การเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF) โดยผู้ลงทุนเพียงแค่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ดังต่อไปนี้คือ
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF:
» ลงทุนต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
» ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า)
» ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดไม่มีเงินได้ ก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3% ของเงินได้ เป็นศูนย์นั่นเอง)
» ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท
» การขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF :
» เมื่อผู้ลงทุนซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน ทั้งนี้ เงินลงทุนใน LTF ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องเป็นการลงทุนภายในช่วงระยะเวลาไม่เกินปี 2559 เท่านั้น
» ลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท
จะเห็นได้ว่า “ภาษี” ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากหรือซับซ้อนจนยากจะทำความเข้าใจ ฉะนั้นเมื่อก้าวเข้ามาสู่ถนนสาย การลงทุนแล้ว เราเพียงทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีที่จะต้องจ่ายตามกฎหมาย ขณะเดียวกันก็รอบรู้เรื่อง สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เราพึงจะได้รับ ยิ่งใกล้สิ้นปีอย่างนี้ ใครที่ไม่ต้องการแบกรับภาระภาษีให้หนักอึ้ง ก็น่าจะ ลองพิจารณาทางเลือกในการลงทุนผ่านกองทุนรวม RMF และ LTF ดูนะคะ มีข้อสงสัยในการลงทุนสามารถ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน โทร. 02-2640900 กด 6
» เงินปันผล
» ดอกเบี้ยรับ
» ส่วนลดรับ
» และกำไรจากการขายหลักทรัพย์ (capital gain) ซึ่งผู้ลงทุนควรทราบ ดังนี้
ภาษีเงินปันผลจากการลงทุนใน :
» ตราสารทุน ผู้ลงทุนมีสิทธิที่จะเลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% หรือนำเงินปันผลที่ได้รับทั้งจำนวน ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีปลายปีโดยได้รับเครดิตภาษีเงินปันผลก็ได้
» กองทุนรวม ผู้ลงทุนมีสิทธิที่จะเลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% หรือนำเงินปันผลที่ได้รับทั้งจำนวน ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีปลายปี โดยไม่มีสิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลแต่อย่างใด
ภาษีดอกเบี้ยจากการลงทุนใน :
» ตราสารหนี้ ผู้ลงทุนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำดอกเบี้ยรับนั้นไป รวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปีก็ได้
ภาษีส่วนลดรับจากการลงทุนใน :
» ตราสารหนี้ ผู้ลงทุนเฉพาะที่เป็นผู้ทรงคนแรก ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และมีสิทธิเลือก ที่จะไม่นำส่วนลดรับนั้นไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปีก็ได้
ภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ (capital gain) :
» ตราสารทุน ได้รับยกเว้น (เฉพาะหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
» ตราสารหนี้ ผู้ลงทุนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำไปรวมคำนวณ เป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปี ยกเว้น Zero coupon bond ที่ผู้ทรงคนแรกได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% แล้ว
» กองทุนรวม ได้รับการยกเว้น
นอกจากนั้น ยังมีการลงทุนอีก 2 ประเภท ที่นอกจากผู้ลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีจากกำไรที่ได้รับแล้ว ยังได้รับสิทธิในการนำไปหักลดหย่อนภาษีประจำปีเป็นของแถมอีกด้วย นั่นก็คือ การลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อ การเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF) โดยผู้ลงทุนเพียงแค่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ดังต่อไปนี้คือ
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF:
» ลงทุนต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
» ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า)
» ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดไม่มีเงินได้ ก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3% ของเงินได้ เป็นศูนย์นั่นเอง)
» ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท
» การขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF :
» เมื่อผู้ลงทุนซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน ทั้งนี้ เงินลงทุนใน LTF ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องเป็นการลงทุนภายในช่วงระยะเวลาไม่เกินปี 2559 เท่านั้น
» ลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท
จะเห็นได้ว่า “ภาษี” ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากหรือซับซ้อนจนยากจะทำความเข้าใจ ฉะนั้นเมื่อก้าวเข้ามาสู่ถนนสาย การลงทุนแล้ว เราเพียงทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีที่จะต้องจ่ายตามกฎหมาย ขณะเดียวกันก็รอบรู้เรื่อง สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เราพึงจะได้รับ ยิ่งใกล้สิ้นปีอย่างนี้ ใครที่ไม่ต้องการแบกรับภาระภาษีให้หนักอึ้ง ก็น่าจะ ลองพิจารณาทางเลือกในการลงทุนผ่านกองทุนรวม RMF และ LTF ดูนะคะ มีข้อสงสัยในการลงทุนสามารถ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน โทร. 02-2640900 กด 6