about-icon-6

คำถามที่พบบ่อย

qa-icon

คำถามที่พบบ่อย

🆀 RMF & LTF มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร


ผมพอจะทราบมาบ้างว่ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนรวม RMF นั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ในช่วงนี้ก็ได้ยินข่าวเกี่ยวกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ กองทุนรวม LTF ว่าสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกเช่นกัน ขอรบกวนช่วยเปรียบเทียบหรืออธิบายข้อมูลสำคัญๆ เกี่ยวกับ กองทุนรวมสองกองทุนนี้ให้ผมได้ทำความเข้าใจด้วยครับ
🅰 เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจถึงความเหมือนและความแตกต่างของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนรวม RMF และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ กองทุนรวม LTF จึงขอกล่าวถึงหัวข้อหลักๆ ให้เห็นควบคู่กัน ไปในแต่ละเรื่องดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์:

RMF
เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว และให้ผู้ลงทุนออมเงินผ่านกองทุนรวมไว้ใช้ในวัยเกษียณ

LTF
เพื่อสร้างเสถียรภาพของตลาดหุ้น ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ลงทุนรายย่อยลงทุนในตลาดหุ้นผ่านกองทุนรวม โดยมีระยะ เวลาในการลงทุนที่ยาวขึ้น

เงื่อนไข:

RMF
ต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี และเมื่อ รวมกับเงินสะสม ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วต้องไม่ เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษี นั้นๆ ด้วย โดยต้องมีการลงทุนต่อเนื่องกันทุกปี แต่สามารถ ระงับการลงทุนได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ จะต้อง มีปีในการลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้อง ถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสีย ภาษีกำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมา ย้อนหลัง 5 ปี

LTF
ลงทุนไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งไม่ต้องนับรวมกับการลงทุนหรือเงิน สะสมใดๆ ในแต่ละปี (ผู้ลงทุนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องซื้อหน่วยลงทุน ภายในปี 2559 เท่านั้น) โดยไม่มี เงื่อนไขให้ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ เมื่อลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน ถึงจะได้รับ สิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ ทางภาษีที่ได้รับมาจากเงินลงทุนที่ขายคืนนั้น

สิทธิประโยชน์:

RMF
1. สามารถนำเงินไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขการลงทุนที่ กล่าวมาข้างต้น
2. กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (capital gain) ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อได้ถือหน่วยลงทุนใน กองทุนรวม RMF มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก

LTF
1. สามารถนำเงินไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขการลงทุนที่ กล่าวมาข้างต้น
2. กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (capital gain) ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อได้ถือหน่วยลงทุนใน กองทุนรวม LTF มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน

นโยบาย:

RMF
มีหลากหลายนโยบายให้เลือกเหมือนกองทุนรวมทั่วไป

LTF
เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียว จึงเป็นกองทุนมีความเสี่ยง อยู่ในระดับสูง ฉะนั้นผู้ลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวม LTF นี้จะต้องยอมรับความเสี่ยงได้สูงด้วย

การขายคืนหน่วยลงทุน:

RMF
สามารถขายคืนได้ทุกวันทำการ หรือตามวันที่กำหนดไว้ในโครงการโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

LTF
สามารถขายคืนได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง ตามวันที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ

ทำผิดเงื่อนไข:

RMF
1. กรณีที่มีระยะเวลาการลงทุนนับตั้งแต่การลงทุนครั้งแรกต่ำกว่า 5 ปี หากมีกำไรจากการขายคืน หน่วยลงทุน จะถูกหัก ณ ที่จ่าย 3% ของเงินกำไรที่ได้รับและต้องนำเงินกำไรที่ได้รับนี้ไป รวมคำนวณ เป็นรายได้เพื่อเสียภาษีตอนปลายปีอีกด้วย นอกจากนั้นต้องคืนสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีที่ได้รับมาทั้งหมด เฉพาะในกองทุนที่ทำให้มีการลงทุนผิดเงื่อนไข นับย้อนหลังไป 5 ปี ปฏิทิน คืนแก่กรมสรรพากร ภายใน เดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข โดยไม่ เสียเงินเพิ่ม (แต่ถ้าเกินเวลาที่กำหนดนี้จะต้อง เสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่ กรมสรรพากรกำหนด)
2. กรณีที่มีระยะเวลาการลงทุนนับตั้งแต่การลงทุนครั้งแรกเกินกว่า 5 ปี แต่ขายคืนหน่วยลงทุน ก่อนอายุ ครบ 55 ปีบริบูรณ์ กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แต่ยังคงต้องคืนสิทธิ ประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาทั้งหมดเฉพาะในกองทุนที่มีการลงทุนผิดเงื่อนไข นับย้อนหลังไป 5 ปีปฏิทิน คืนแก่กรมสรรพากร ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ ปฏิบัติผิดเงื่อนไข โดยไม่เสียเงินเพิ่ม (แต่ถ้าเกินเวลาที่กำหนดนี้จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ย ปรับตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด)

LTF
หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบ 5 ปีปฏิทิน ถ้ามีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน หากมีการขายคืน หน่วยลงทุนก่อนครบ 5 ปีปฏิทิน ถ้ามีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนจะถูก หัก ณ ที่จ่าย 3% ของเงินกำไร ที่ได้รับ และต้องนำเงินกำไรที่ได้รับนี้ไปรวม คำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีตอนปลายปีอีกด้วย นอกจากนั้น ยังต้องคืนสิทธิประโยชน์ หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบ 5 ปีปฏิทิน ถ้ามีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ทางภาษีที่ได้รับมาเฉพาะในส่วนที่มีการขายคืนก่อนถือครบเงื่อนไข พร้อมเงินเพิ่มตาม หลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากร กำหนดคืนแก่กรมสรรพากร

เนื่องจากกองทุนรวม RMF และกองทุนรวม LTF มีความพิเศษกว่ากองทุนรวมทั่วๆ ไป และมีเงื่อนไขเฉพาะใน การลงทุน ฉะนั้นก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมทั้งสองกองทุนนี้ ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดของหนังสือ ชี้ชวนของกองทุนรวมและคู่มือภาษีให้ชัดเจนก่อน เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ลงทุนนะคะ