icon-กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ-hover

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุน-icon

ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุน

1.รู้จักตัวเอง

เราควรวางเป้าหมายการลงทุนในเงินก้อนนั้นๆ ให้ชัดเจน ว่าลงทุนไปเพื่ออะไร มีระยะเวลาการลงทุนนานแค่ไหน จะใส่เงินไปก้อนเดียวหรือค่อยๆ ทยอยการลงทุน นอกจากนั้น ควรประเมินตนเองให้ได้ว่ามีความสามารถรับความเสี่ยง หรือความผันผวนของการลงทุนได้มากน้อยเพียงใด หลักการ ง่ายๆ ที่เราควรรู้ก่อนลงทุนคือ การลงทุนมีความเสี่ยงยิ่ง ความเสี่ยงสูง ก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงตามไปด้วย (คลิก ทดลองทำแบบประเมิน) สิ่งที่จะได้ในขั้นตอนทำความรู้จักตนเองนี้ คือการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะกับเป้าหมาย และตัวเรา

2. มองภาพตลาด

แม้เราอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน แต่ก็ควร มองทิศทางเศรษฐกิจและคาดการณ์ผลกระทบที่จะมีต่อ การลงทุนประเภทต่างๆ ได้ เพราะสินทรัพย์ลงทุนให้ผล ตอบแทนที่แตกต่างกันในแต่ละสภาพเศรษฐกิจ หากข้อมูล ในส่วนนี้ ก็สามารถจัดสินทรัพย์ลงทุนในระยะสั้น ที่อาจ แตกต่างไปจากสินทรัพย์ลงทุนเป้าหมายในระยะยาว เพื่อ ช่วยเพิ่มผลตอบแทนและรอจังหวะการลงทุนที่เหมาะสมได้

3. แสกนกองทุนที่ใช่

ค้นหาข้อมูลของกองทุนรวมที่สนใจลงทุนอย่างละเอียด จากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน และหนังสือชี้ชวน ส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ เพื่อเปรียบเทียบจุดเด่น จุดด้อย ข้อมูลที่ควรให้ความสำคัญกับ ได้แก่

•   ประเภทและนโยบายการบริหารกองทุนรวม
•   ความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงานย้อนหลังทั้ง ในระยะสั้นและระยะยาว
•   ผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) รวมถึงเปรียบเทียบกองทุนของ บลจ.ค่ายอื่นๆ ที่มีนโยบาย การลงทุนแบบเดียวกัน
•   รายละเอียดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่กองทุนเรียกเก็บ

4. ติดต่อเพื่อเปิดบัญชี

การซื้อขายหน่วยลงทุนสามารถทำได้ทั้งที่ บลจ. และ ตัวแทนขายต่างๆ อาทิ ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัท นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โดยใช้เอกสารที่สำคัญสอง อย่างคือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรับรองสำเนา และสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารสำหรับการรับเงินค่าขาย คืนหน่วยลงทุน โดยจะต้องกรอกแบบคำขอเปิดบัญชีและ คำสั่งซื้อ ทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการยอมรับ ความเสี่ยง และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (คลิก ติดต่อเพื่อเปิดบัญชีกองทุนรวม) สำหรับการ ซื้อขายในครั้งต่อๆ ไปหลังจากได้เป็นลูกค้าแล้ว จะมีความสะดวกเพิ่มขึ้น ไม่ต้องเดินทางไปที่ หน่วยงานของตัวแทนขาย เพราะทำผ่านช่องทางอื่นๆ ที่สะดวกกว่าได้ เช่น อินเตอร์เน็ต หรือตู้เอทีเอ็ม